วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

ชีวิตกำหนดเอง

ชีวิตกำหนดเอง

"การศึกษาไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง เพียงแต่มันจะปูพื้นฐานชีวิตของคุณ 
เพราะชีวิตของคุณ คุณกำหนดมันเอง"


บนทางเดิน
อาจไม่มีทางไหนมุ่งไปดวงดาว
ที่ส่องสกาวบนนภา
และคนที่เดินดินทุกทุกคนก็รู้ว่า
มันไกลเกินที่คนจะก้าวไป


ในความเป็นจริง
เส้นทางบนดินนั้นก็มีดวงดาว
ที่ส่องสกาวอยู่ไม่ไกล
และตัวฉันคนนึงที่ต้องการจะก้าวไป
ฉันมั่นใจว่าคงไม่ยากเกิน
เพราะฉันนั้นต้องการมีเสี้ยวนาทีที่ยิ่งใหญ่
ให้ใจจดไว้นานเท่านาน
อยากจะได้ภูมิใจ ที่มือฉันเคยได้เอื้อมผ่าน
ได้เก็บดาว ที่แสนไกล … ด้วยตัวฉันเอง

คนบางคนอาจจะมีใจท้อแค่ตรงกลางทาง
หมดความหวังในหัวใจ
แต่มีฉันคนนึงที่ยังคงจะก้าวไป 
ฉันมั่นใจกับทางที่เลือกเดิน
ฉันนั้นต้องการเขียนตำนานให้หัวใจ
เพื่อจำจดไว้นานเท่านาน
สิ่งที่ฉันทำไปจะเป็นเส้นทางให้ข้ามผ่าน

สู่จุดหมายที่ตั้งใจ
ด้วยตัวฉันเอง
ทุกวันนี้เรากล้าพูดได้เต็มปากเลยว่า "   นี่แหละคือ เส้นทางที่ฉันเลือกเดิน "
และนี่คือ " ชีวิตที่เรากำหนดมันขึ้นเอง "   ด้วยกายและใจเรานี่แหละ
ใครที่ยังท้อ ใครที่ยังทุกข์  หมั่นทบทวนทุกๆครั้งที่เกิดความทุกข์
เห็นทุกข์ไหม ทุกข์เพราะอะไรทั้งๆที่รู้ว่าทุกข์ แต่ทำไมจึงยังวิ่งหาทุกข์กันอยู่อีก
ตัวเราถือว่าได้ประสพความสำเร็จในระดับหนึ่ง
คำว่า ประสพความสำเร็จของเรา หมายถึง " ชีวิต " นะ
ไม่ใช่ไปประสพความสำเร็จทางโลกๆ เรื่องทางโลกๆ เราไม่ปรารถนาอันใดแล้ว
เพราะรู้แล้วว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้ ส่งผลให้ได้รับทั้งทางโลกและทางธรรม
ไม่ต้องไปดิ้นรนหาหนทางใดๆ
ไม่ต้องไปไขว่คว้าหาดาวแบบที่เขาพูดๆกัน
ไม่ต้องไปเหลียวซ้ายแลขวาหาคนช่วยเหลือ
ไม่ต้องไปหาที่พึ่งพิงนอกตัว
ไม่ต้องไปวิ่งหาสิ่งที่สนองทำให้เกิดความสุข
มันจะมีแต่คำว่า " ไม่ต้อง "
เรามีหน้าที่เพียง ดู รู้ลงไป กับทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ
ไม่ว่าจะชอบหรือชัง แค่รู้ แล้วชอบหรือชังจะหายไปเอง
ไม่ต้องไปหาวิธีการ มีแค่เฝ้าดู รู้ลงไป แล้วอยู่กับสิ่งนั้นๆ
ยิ่งหาวิธีการ ยิ่งวุ่นวาย มีแต่ส่งจิตออกนอก
เพราะมันคือกิเลสตัวหนึ่งที่เนียนมากๆ
ความอยาก  ความอยากสำเร็จ แต่ไม่รู้ไม่อยาก
จึงพยายามหาวิธีการ ที่คิดว่าเป็นหนทางพาไปสู่ความสำเร็จได้
ยิ่งดิ้น ยิ่งไขว่คว้า ยิ่งมองไม่ออก เพราะความอยากบดบังดวงตา
บดบังปัญญาไม่ให้เห็นตามความเป็นจริง ในสิ่งที่กำลังเป็นอยู่
ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับตัวเอง
ทุกๆการกระทบ คือ สภาวะของคนๆนั้น
ทุกๆสภาวะคือบททดสอบสติ สัมปชัญญะ 
และ การชดใช้หนี้กรรมที่เคยได้สร้างเหตุเอาไว้ด้วยความไม่รู้
คิด สักแต่ว่า คิด
อย่าไปให้ค่าให้ความหมายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
เพียงดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แล้วแค่รู้ อย่าไปยึดติดจนทำให้เกิดอุปทานขึ้นมา

คำว่า " คนดี " เป็นเพียงการให้ค่าเท่านั้นเอง
เป็นการให้ค่าต่อสิ่งที่มากระทบ ที่เรามองเห็นแค่เปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ ที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

เมื่อเกิดความชอบใจหรือพอใจในสิ่งๆนั้น ตรงกับความรู้สึกของเรา เราก็ให้ค่าแก่สิ่งนั้นว่า " ดี "
เช่นเดียวกับเมื่อเกิดความไม่ชอบใจหรือไม่พอใจในสิ่งๆนั้น ที่ตรงข้ามหรือมีความเห็นต่าง
กับความรู้สึกของเรา เราก็ให้ค่าแก่สิ่งนั้นว่า " ไม่ดี "
ทุกอย่างล้วนเกิดจากอุปทาน แล้วเราไปเกาะเกี่ยวเข้ามา ปรุงแต่งมันเองค่ะ
คำว่า " ดี " หรือ " ไม่ดี " ล้วนเป็นเพียงแค่ความคิดเท่านั้นเองค่ะ
หน้าที่ของเราคือ เจริญสติต่อไป ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น 
แค่ดู แค่รู้ อย่าไปให้ค่า ให้ความหมายใดๆ
อย่าคาดหวัง ถ้าคาดหวัง ย่อมมีทั้งดีและไม่ดี ทุกอย่างมันไม่เที่ยง
อย่าคาดเดา เมื่อคาดเดา สภาวะย่อมเปลี่ยนไป ทุกอย่างมันไม่เที่ยง
อย่าอยาก เพราะ ความอยากเป็นตัวปิดกั้นปัญญาไม่ให้เกิด
ยิ่งมีความอยากมากเท่าไหร่อุปทานยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งกลายเป็นว่า ส่งจิตออกนอกมากขึ้นเท่านั้น

ใครจะทำอะไรหรืออย่างไร นั่นคือเขาไม่ใช่เรา
เรา เขา ล้วนไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าใครก็ตาม สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลตามนั้น
ตอนนี้เรากำลังสร้างเหตุดีนะคะ นี่คือชีวิตใหม่ของเราค่ะ
เมื่อเจอผัสสะที่คิดว่า  " ดี "  อย่าไปให้ค่าให้ความหมายต่อสิ่งที่คิดว่า " ดี "
เมื่อเจอผัสสะที่คิดว่า " ร้าย " อย่าไปให้ค่าให้ความหมายต่อสิ่งที่คิดว่า " ร้าย "
สิ่งที่เกิดขึ้นทุกอย่าง ไม่ว่า จะดีหรือร้าย ล้วนเป็นหลุมพรางของกิเลส
จงอย่าพยายามแก้ไข ให้ดู แล้วรู้ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น
อย่าตอบโต้ การตอบโต้ คือ การแก้ไข คือ การสร้างภพชาติใหม่ให้เกิดขึ้น ยืดยาวออกไป
คุณล่ะ ตัดสินใจกำหนดชีวิตของคุณเอง ด้วยตัวคุณเองแล้วหรือยัง
หรือว่ายังปล่อยให้เป็นไปตามเหตุที่กระทำมา แล้วยังคิดกระทำต่อไปอีก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://walailoo2010.wordpress.com

How to success in studying?

How to success in studying?

“คุณคือคนที่ทำสิ่งที่คุณทำซ้ำๆ” - Aristotle -
หากศึกษาคนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกคุณจะพบความลับบางอย่าง การที่พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมากไม่ได้เกิดจากความคิดหรือการกระทำเท่านั้นแต่เกิดจากสิ่งที่เขามีคล้ายๆกันคือ “นิสัย” พวกเขาผ่านกระบวนการอันทรหดในการสร้างนิสัยของความสำเร็จจนทำให้สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง

7 นิสัยที่คล้ายกันของคนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก

1. เป็นนักตั้งเป้าหมาย

เขาตั้งเป้าหมายมากมายในสิ่งที่เขาต้องการด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด มีเหตุผลให้กับตัวเองมากพอในแต่ละเป้าหมายว่าทำไมเขาถึงต้องการมัน การตั้งเป็าหมายเป็นการสร้างภาพความสำเร็จล่วงหน้าทำให้เขาสามารถมองเห็นและรู้สึกถึงความสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเป็นพลังพลักดันอย่างมหาศาลในการทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จเร็วยิ่งขึ้น

2. โฟกัสทีละอย่าง

พลังของแสงเลเซอร์สามารถตัดวัตถุที่แข็งแรงที่สุดได้เกือบทุกอย่างจากความสามารถในการรวบรวมการโฟกัสทั้งหมดของแสงไปที่จุดหนึ่งของวัตถุจนกระทั่งวัตถุนั้นเริ่มละลาย คนที่ประสบความสำเร็จเป็นเหมือนแสงเลเซอร์ เขาตั้งเป้าหมายอันท้าทาย โฟกัสที่เป้าหมายนั้น ทุ่มเทความพายายามและความสามารถทั้งหมดที่มีอย่างไม่ยอมแพ้จนกว่าจะสำเร็จผล แตกต่างจากคนทั่วไปซึ่งไม่มีโฟกัส พวกเขาทำทุกโอกาสที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

3. ให้ความสำคัญกับเวลา

เขาใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ คิดถึงคุณค่าที่สร้างขึ้นให้กับตัวเองและผู้อื่นในเวลาที่ใช้ไปแต่ละชัวโมงแทนที่จะเป็นรายเดือนหรือรายปี เขาไม่ได้ใช้เวลามากมายกับ Social Media หรือดูทีวี เพราะเขาต้องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด

4. ใช้จ่ายน้อยกว่าที่หาได้

เป็นเรื่องง่ายที่ทำได้อยากสำหรับคนส่วนใหญ่ที่มักมีรายจายเพิ่มขึ้นอย่างเกินตัวเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นเช่น ซื้อรถใหม่ ซื้อบ้านหลังใหญ่ขึ้น Warren Buffet แนะนำว่า “อย่าออมจากเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย แต่ต้องใช้จ่ายจากเงินที่เหลือจากการออม”

5. เรียนรู้และพัฒนาตัวเองเสมอ

ยิ่งคุณรู้มากขึ้นคุณยิ่งสามารถประสบความสำเร็จได้มากขึ้น การทำงานหนักอย่างเดียวไม่สามารถทำให้คุณประสบความสำเร็จอย่างสูงได้ แต่คุณสามารถเพิ่มคุณค่าของตัวคุณที่มีต่อผู้อื่นได้ด้วยการเริ่มต้นจากการเพิ่มคุณค่าให้กับตัวคุณเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ ฝึกฝนทักษะใหม่และหาประสบการณ์ใหม่ให้กับตัวคุณเองทุกวัน

6. ไม่ยอมแพ้

คนประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ผ่านความล้มเหลวมาแล้วมากมายนับไม่ถ้วนแต่ก็สามารถลุกขึ้นยืนได้เสมอกับทุกครั้งที่ล้ม เมื่อคุณไม่ยอมแพ้คุณสามารถเรียนรู้ พัฒนาตัวเองได้จากทุกความผิดพลาดและความล้มเหลวที่คุณมี

7. ใจกว้างและมีน้ำใจ

พวกเขาไม่เพียงสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง แต่พวกเขามุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้กับผู้อื่นเป็นหลักด้วยในขณะเดียวกันด้วยความเชื่อที่ว่า “ยิ่งให้ คุณยิ่งได้”

ผมเชื่อว่าหากคุณฝึกนิสัยทั้ง 7 ข้อนี้จนเป็นนิสัยของตัวเอง คุณจะสามารถมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จและมีความสุขอย่างมหัศจรรย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.succeedlifestyle.com/7-habits-world-most-success-people/


ข้อผิดพลาด(จากการเรียน)

ข้อผิดพลาด(จากการเรียน)

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error )

          พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ( Trial and Error ) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อ สัตวได้ผ่านการทดลองมาก่อน โดยพวกมันไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้น ก่อให้เกิดผลดี
หรือ ผลเสีย   แต่เมื่อพวกมันเรียนรู้แล้วว่าเหตุการณ์นั้นส่งผลดีก็จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น หากเรียนรู้ แล้วว่าเหตุการณนั้นก่อให้เกิดผลเสียก็จะหลีกเลียงหรือไม่แสดงพฤติกรรม สัตวที่์เกิดการเรียนรู้ แบบลองผิดลองถูก จะเลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นผลดีหรือพอใจเท่านั้น

สรุปลักษณะสำคัญของพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูก
          1. เป็นการแก้ไขปัญหาโดยอาศัยการทดลอง
          2. มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิมๆหลายคร้ง จึงจะเกิดการเรียนรู้
          3. หากมีการตอบสนองแบบเดิมๆหลายครั้งแล้วพบว่าเกิดผลดีก็จะกระทำต่อ หากตอบสนองแบบเดิมๆหลายๆครั้งแล้วไม่เกิดผลดีก็จะหยุดตอบสนอง
          4. การใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกนั้นสัตว์แต่ละชนิดใช้เวลาแตกต่างกัน เช่น มดจะใช้เวลาน้อยกว่าไส้เดือน

ตัวอย่างพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูก
     ๐ การเดินในทางวกวนไปหาอาหารของหนู และหนูสามารถเดินทางไปหาอาหารและหาทางออกได้ในระยะเวลาอันสั้น หลังจากที่ได้ทดลองเดินมาก่อน
     ๐ การเลือกทางเดินของไส้เดือนที่อยู่ในกล่องรูปตัว T โดยมีด้านหนึ่งที่มืดและชื้น กับอีกด้านหนึ่งที่มีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ซึ่งไส้เดือนที่ผ่านการฝึกมาแล้ว จะสามารถเลือกทางที่ถูกต้องได้ถึงประมาณร้อยละ 90
     ๐ เด็กเอามือไปจับยากันยุงที่ร้อน เมื่อเกิดการเรียนรู้จะไม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้อีก

การเลือกทางเดินของไส้เดือนที่อยู่ในกล่องรูปตัว T
          จากภาพเป็นการทดลองปล่อยไส้เดือนดินเข้าไปในกล่องรูปตัว T ซึ่งด้านหนึ่งเป็นที่ชื้นและมืดซึ่งเป็นบริเวณที่
ไส้เดือนดินชอบ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆปล่อยออกมาซึ่งไส้เดือนดินไม่ชอบ การทดลองได้ทำซ้ำไปมาหลายครั้งโดยในระยะแรกไส้เดือนจะไปยังทั้งสองฝั่งเท่ากันแต่เมื่อได้ทดลองหลายๆครั้งพบ
ว่าไส้เดือนดินจะไปฝั่งที่มืดและชื้นในความถี่ที่สูงขึ้น และจะไปฝั่งที่มีกระแสไฟฟ้าอ่อนลดลง
ตัวอย่างของพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูกแบบอื่นๆ ดังภาพ


เช่นเดียวกันกับการศึกษาเราจำเป้นจะต้องลองผิดลองถูกไปเรื่ิอยๆจนกว่าจะประสบความสำเร็จ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.nana-bio.com/e-learning/Behavior/Trial%20and%20error.html

การเรียนในอนาคต

การเรียนในอนาคต

ครูกับเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนในอนาคต


      โลกเราในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันจะสังเกตได้ชัดเจนว่าเทคโนโลยีต่างๆนั้นได้มีการพัฒนาอย่างล้ำสมัยซึ่งส่งผลให้เกิดความสะดวกต่อการใช้งานในปัจจุบันและในอนาคต       ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมี ดังนี้   

      1.คอมพิวเตอร์ (computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป  

        2.ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น    

      3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information system) หรือ EIS เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์    

      4. การจดจำเสียง (voice recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ      

     5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronics data interchange) หรือ EDI เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นโดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วงลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง           

      6. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ “ ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)” ที่จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสามวลชนและการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

       

    7. อินเทอร์เน็ต (internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น     

     8. ระบบเครือข่าย (networking system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต           

       9. การประชุมทางไกล (teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก        

       10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and sattleite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น    

        11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูลหรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM) จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจากบุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก      

      12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า “ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ CAI” การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง          

      13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ         

      14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing) หรือ CAM เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด            

     15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) หรือ GIS เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น

เราจะเห็นว่าปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมต่อการใช้งานในอนาคต 

ข้อขอบคุณข้อมูลจาก: https://blog.eduzones.com/futurecareerexpo/94488

ระบบการศึกษาของเกาหลีใต้และฟินแลนด์

ระบบการศึกษาของเกาหลีใต้และฟินแลนด์

ระบบการศึกษาของเกาหลี


ระบบการศึกษาของเกาหลีใต้จัดตามข้อกำหนดของกฎหมายการศึกษาซึ่งประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1949 กำหนดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับการศึกษาตามความสามารถ โดยเด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นอย่างน้อย ซึ่งรัฐจัดให้ฟรี ระบบการศึกษาของเกาหลีใต้เป็นระบบ 6 – 3 – 3 – 4 คือ ชั้นประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี และวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย 4 ปี กฎหมายการศึกษาได้กำหนดวันเวลาการเรียนใน 1 รอบปีการศึกษาของระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายเท่ากับ 220 วัน ระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเท่ากับ 32 สัปดาห์ ภาคเรียนมี 2 ภาค ภาคต้นเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม ภาคเรียนที่ 2 เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน ถึง สิ้นเดือนกุมภาพันธ์

ระบบการศึกษาของเกาหลีจัดแยกได้เป็น  3 ประเภท คือ

1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐานมี 3 ระดับคือ อนุบาลศึกษาหรือก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา
ระบบการศึกษาของเกาหลีระดับอุดมศึกษา แบ่งสถาบันการศึกษาออกเป็น 5 ประเภท คือ วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยหลักสูตร 4 ปี (ซึ่งรวมทั้งมหาวิทยาลัยเปิด) วิทยาลัยครู วิทยาลัยอาชีวศึกษา โพลีเทคนิคและโรงเรียนพิเศษ (miscellaneous schools) โดยสถาบันทั้งหมดสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละประเภทมีลักษณะดังนี้คือ
2.1 วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
หลักสูตรปริญญาตรีจะมีหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 140  หน่วยกิต ในมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งอาจจะมีบัณฑิตวิทยาลัยที่เปิดสอนถึงปริญญาโทและเอกได้ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการบริหารวิชาการ โดยพยายามรวมภาควิชาที่มีลักษณะใกล้เคียงกันให้อยู่เป็นภาควิชาเดียวกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันผลิตบัณฑิตและเป็นการลดพรมแดนการแบ่งแยกภาควิชาไปในตัว
ในส่วนของมหาวิทยาลัยเปิด (Korea National Open University) มีต้นกำเนิดมาจากมหาวิทยาลัยทางอากาศเกาหลี ที่มีฐานะเป็นสถาบันสมทบกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ในปี 1972 มุ่งเน้นการสอนในด้านอาชีวศึกษา และปรับมาเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งชาติเกาหลีในปี  1994
รัฐจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเป็นบรรทัดฐานเพื่อการรับรองคุณภาพมหาวิทยาลัย ซึ่งมาตรฐานจะแตกต่างไปตามรูปแบบของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันรัฐอนุญาตให้ตั้งมหาวิทยาลัยในระดับจังหวัดได้ เพื่อให้เกิดมหาวิทยาลัยขนาดเล็กที่สามารถตอบสนองชุมชนหรือความต้องการของ สาขาวิชาชีพซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของระบบการศึกษาของเกาหลี แต่มหาวิทยาลัยก็ต้องมีการประเมินตนเองเป็นประจำทุกปี ในแง่ของการประเมินจากองค์กรภายนอกจะดูที่คุณภาพของงานวิจัยและจำนวนผู้จบการศึกษา
ปัจจุบันมีองค์กรอิสระที่ไม่ขึ้นต่อรัฐทำหน้าที่ประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพของมหาวิทยาลัยในเกาหลี องค์กรนี้เรียกว่า สภาการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea Council for University Education – KCUE) เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยโดยทั่วไป
2.2 สถาบันผลิตครู   
มี  2  รูปแบบ คือ วิทยาลัยครูและวิทยาลัยวิชาการศึกษา 
วิทยาลัยครู ผลิตครูเพื่อไปสอนระดับประถมศึกษา ผู้ที่เรียนจบจะได้รับปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรการสอนประถมศึกษา นักเรียนที่เข้าเรียนจะเป็นนักเรียนทุนได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบียนและค่าสอน แต่เมื่อจบแล้วต้องไปเป็นครูในโรงเรียนประถมศึกษาอย่างน้อย 4 ปี ส่วนวิทยาลัยวิชาการศึกษา ใช้หลักสูตร 4 ปี เช่นกันเพื่อผลิตครูระดับมัธยมศึกษา นอกจากนั้นยังมีมหาวิทยาลัยทางการศึกษาชื่อว่า Korea National University of Education ตั้งขึ้นในปี 1985 เพื่อผลิตครูชั้นนำที่สามารถสอนและวิจัย เกี่ยวกับการศึกษาในระดับอนุบาล ประถมและมัธยมได้ รวมทั้งสร้างบุคลากรที่จะเป็นหัวหอกของการปฏิรูปการศึกษา ตลอดจนการเน้นบทบาทด้านการฝึกอบรมครูและวิจัยทางการศึกษา
2.3 วิทยาลัยอาชีวศึกษา 

เป็นสถาบันที่สอน 2-3 ปี หลังระดับมัธยมศึกษา สาขาวิชาที่ยอดนิยมคือ วิศวกรรม เทคโนโลยีและพยาบาล
2.4 โพลีเทคนิคหรือมหาวิทยาลัยเปิดทางอุตสาหกรรม (Open Industrial University)

สถาบันนี้มุ่งให้การศึกษาทางอาชีวะแก่ผู้ใหญ่ที่กำลังทำงานและประสงค์จะเรียนในระดับอุดมศึกษา
2.5 โรงเรียนเสริมพิเศษ (Miscellaneous school)

เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อเปิดสอนสาขาวิชาที่ไม่ได้เปิดสอนในวิทยาลัยโดยปกติทั่วไป สถาบันจึงมีขนาดเล็กกว่าวิทยาลัยแต่ก็เปิดสอนหลักสูตร 4 ปีเช่นกันในบางแห่ง เมื่อจบแล้วผู้เรียนจะได้รับวุฒิบัตรและประกาศนียบัตร มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับวิทยาลัยอื่น ถ้าสถาบันที่จบได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ

ระบบการศึกษาของเกาหลี ยุคใหม่

ระบบการศึกษาของเกาหลียุคใหม่เป็นการจัดการศึกษาโดยสร้างระบบการศึกษาใหม่ (New Education System) เพื่อมุ่งสู่ ยุคสารสนเทศและโลกาภิวัตน์โดยเป้าหมายสูงสุดของระบบการศึกษาของเกาหลียุคใหม่ คือความเป็นรัฐสวัสดิการทางการศึกษา สร้างสังคมการศึกษาแบบเปิดและตลอดชีวิต ทำให้ชาวเกาหลีทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากการศึกษาได้ทุกเวลาและทุกสถานที่
รัฐปรับโครงสร้างระบบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและเทคนิค นำเยาวชนเข้าสู่ชีวิตยุคสารสนเทศมีเสรีภาพที่จะถ่ายโอนการเรียน สามารถถ่ายโอนหน่วยกิตข้ามโรงเรียนหรือข้ามสถาบันการศึกษาตลอดจนข้ามสาขาวิชาได้ ณ วันนี้ระบบการศึกษาของเกาหลียุคใหม่ ได้ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน จัดให้มีโรงเรียนและการศึกษาเฉพาะทางหลายรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถหาความรู้พัฒนาตนเองตามความสนใจ โรงเรียนมีอำนาจในการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนและผู้ปกครองมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่และอุปกรณ์ในระบบมัลติมีเดียช่วยให้บุคคลศึกษาหาความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา รวมทั้งจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาวิชาชีพในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
กล่าวโดยสรุป เกาหลีได้สร้างระบบการศึกษาสมัยใหม่ ที่มุ่งพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge-based Society) สร้างสภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้คนเกาหลีมีความรู้ ความสามารถ มีความทันสมัย และที่สำคัญคือมีจริยธรรม แต่ยังคงความเป็นเลิศด้านการศึกษาและดำรงมาตรฐานของระบบการศึกษาของเกาหลีได้อีกด้วย

ระบบการศึกษาของฟินแลนด์

ฟินแลนด์ ประเทศเล็กๆในยุโรปตอนบน มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน (น้อยกว่ากรุงเทพซะอีก) ซึ่งคนไทยอาจจะไม่คุ้นเคยกับชื่อเสียงของประเทศนี้นัก แต่ถ้าบอกว่าประเทศนี้แหละ คือต้นกำเนิดของ Nokia มือถือที่ (เคย) ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมอีกมากมายที่ถือกำเนิดในฟินแลนด์ ซึ่งสิ่งมหัศจรรย์เหล่านี้เริ่มต้นมาจากพื้นฐานด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเยี่ยม มีความเหลื่อมล้ำทางเศรฐกิจน้อยมาก เพราะมีการเก็บภาษีสูงและมีการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง ทำให้การพัฒนาคุณภาพประชากรที่นี่มีคุณภาพ

ในการสำรวจประเมินผลดัชนีทางการศึกษาล่าสุด โดยองค์กรความร่วมมือทางเศรฐกิจและพัฒนา โดยการจัดอันดับนี้ใช้รูปแบบการวัดความสามารถในการแก้ปัญหา (ไม่ใช่การทำข้อสอบ) และการอ่านเขียน (ภาษาของตนเอง) ที่ชื่อ PISA (Program for International Student Assessment) ผลคือ นักเรียนของฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "นักเรียนที่มีคุณภาพที่สุดในโลก" ประเมินจากนักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับของนักเรียนจำนวน 65 ประเทศ


สิ่งที่ทำให้การศึกษาของฟินแลนด์แตกต่างจากประเทศอื่นๆ (โดยเฉพาะบ้านเรา) มีอะไรบ้าง เรามาดูกันค่ะ

finland-children

โรงเรียนอนุบาลไม่สำคัญเท่าเวลาจากครอบครัว
ที่ฟินแลนด์จะให้เด็กเรียนเมื่ออายุ 6-7 ขวบ (ซึ่งที่บ้านเรานี่คือวัยเรียนประถมแล้ว) ที่นั่นไม่เน้นโรงเรียนอนุบาล แต่อยากให้เด็กมีเวลาอยู่กับครอบครัวให้มากที่สุด เพราะเขาเชื่อว่าครอบครัวสามารถให้ทั้งความรู้และความรัก ความเข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามให้เด็กได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาล ในขณะที่บ้านเราแม้แต่โรงเรียนอนุบาลยังต้องแย่งกันเข้าเรียน และพ่อแม่อยากรีบส่งลูกๆเข้าอนุบาล (หรือแม้แต่เตรียมอนุบาล) เพราะไม่มีเวลาดูแลเด็กๆด้วยตัวเอง ซึ่งฟินแลนด์ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหานี้ ฟินแลนด์ก็มีการเปิดรับนักเรียนตั้งแต่วัยเด็ก 8 เดือน - 5 ปี เช่นกัน เรียกว่า Daycare โดยที่ Daycare นั้นจะต้องมีสนามเด็กเล่นให้เด็กใช้วิ่งเล่นโดยที่ผู้ปกครองสามารถเข้าไปเป็นเพื่อนเล่นได้ โดยเปิดให้บริการฟรี แต้ถ้าพ่อแม่คนไหนไม่ต้องการส่งลูกไปที่ Daycare ก็สามารถที่จะจัดบ้านตัวเองเป็น Daycare ได้และทางเทศบาลเมืองจะมีการจ่ายเงินสนับสนุนให้ด้วย!! เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พ่อแม่เลี้ยงดูลูกด้วยตัวเองนั่นเองค่ะ และก็ไม่ใช่ว่าพ่อแม่จะรับเงินมาแล้วก็เลี้ยงลูกแบบทิ้งๆขว้างๆได้นะคะ เพราะทางเทศบาลเค้าจะมีการสุ่มตรวจอยู่เสมอว่าพ่อแม่เลี้ยงลูกได้เหมาะสมหรือเปล่าค่ะ

Finland-Education

เรียนมากไปใช่ว่าจะดี เด็กควรมีเวลาทำในสิ่งที่สนใจ
เด็กในวัยประถมศึกษาที่ฟินแลนด์ จะเรียนไม่เกินวันละ 5 ชั่วโมง เพราะเค้าเชื่อว่าเด็กวัยนี้ควรจะมีเวลาทำในกิจกรรมที่ตัวเองสนใจมากกว่า ในขณะที่เด็กไทยเรียนกันเช้ายันเย็น แล้วยังมีต่อเรียนพิเศษกันอีกในตอนค่ำ (อาจจะเพราะผู้ปกครองบางคนทำงานเลิกดึก ไม่มีเวลามารับลูกๆ ก็ส่งให้ลูกเรียนพิเศษต่อไปก็มี) ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความเครียด และเกิดความรู้สึกแย่ต่อการเรียนได้

kids-at-desks-in-class

จำนวนเด็กในชั้นเรียนน้อย เพื่อการดูแลทั่วถึง
ห้องเรียนที่ฟินแลนดื จะกำหนดให้มีนักเรียนห้องละ 12 คน สูงสุดไม่เกิน 20 คน ยิ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็จะยิ่งจำกัดจำนวนเด็กในห้องให้น้อยลง (ซึ่งหลักการนี้จะคล้ายกับโรงเรียนสอนภาษาในประเทศอังกฤษที่ได้รับการรับรอง Highly Trusted) เพราะที่ฟินแลนด์จะเน้นการพัฒนาคน มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้และการดำรงชีวิต ซึ่งนักเรียนแต่ละคนมีศักยภาพที่แตกต่างกัน การดูแลรายบุคคลจึงเป็นสิ่งที่เขาให้ความสำคัญ ในขณะที่บ้านเรา โรงเรียนยิ่งดัง ยิ่งรับนักเรียนมาก (โรงเรียนที่แอดมินจบมา มีนักเรียนมากกว่า 3 พันคน และมีนักเรียนห้องละ 50 คน) และการเรียนการสอนจะปลูกฝังให้นักเรียนมีค่านิยมเดียวกันหมด เช่น ต้องเป็นหมอ เป็นวิศวกร โดยที่ไม่พยายามพัฒนาและสนับสุนศักยภาพที่เหมาะสมกับบุคคล

findardized-tests

เพราะการศึกษาไม่ใช่การแข่งขัน ที่นี่จึงไม่มีเกรดเฉลี่ย
ที่ฟินแลนด์มองว่าการเรียนคือการพัฒนาแต่ละบุคคล ไม่ใช่การแข่งขัน ดังนั้นจึงไม่มีการให้เกรดเฉลี่ยมาเป็นตัวแบ่งแยกความภาคภูมิใจหรือความอับอายให้แก่เด็ก แต่เน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้มากกว่า

Finland-Student2

ไม่ใช้ข้อสอบกลางในการวัดระดับ
เพราะเขาเชื่อว่าแต่ละโรงเรียนมีจุดประสงค์และเป้าหมายในการให้การศึกษาแก่นักเรียนแตกต่างกัน ฟินแลนด์จึงไม่ใช้ข้อสอบมาตรฐานในการวัดผลนักเรียน (ซึ่งข้อนี้สามารถทำได้ เมื่อโรงเรียนมีคุณภาพและความน่าเชื่อถือ) ซึ่งต่างจากบ้านเราที่ใช้ข้อสอบกลางในการวัดผลนักเรียน เช่น O-Net, A-Net เป็นต้น

Finland-Education2

การบริหารโรงเรียนที่มีคุณภาพ
ที่ฟินแลนด์จะใช้การจ้างผู้อำนวยการมาบริหารโรงเรียน และให้กรรมการโรงเรียนดูแล ถ้าผลงานไม่ดีก็เชิญออกได้ เขาไม่ได้ใช้ระบบราชการ หรืออายุราชการในการคัดเลือกคนมาบริหาร ไม่ได้เลือกจากอาจารย์ในโรงเรียน แต่ใช้การคัดเลือกคนที่มีความสามารถในการบริหารจริงๆ เพราะเชื่อว่าการสอนเก่ง กับการบริหารเก่งนั้นไม่เกี่ยวข้องกัน ทำให้โรงเรียนเขามีคุณภาพ

Finland-Teacher

ครูเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับและมีเกียรติ
ที่ฟินแลนดื ครูของเขาทุกคนตั้งใจอยากเป็นครู คนที่เก่งที่สุดของประเทศจะแข่งกันเป็นครู เพราะครูเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับ ไม่ต่างจากแพทย์ หรือ ทนายความ ระบบการศึกษาในฟินแลนด์กำหนดให้อาจารย์ประจำชั้นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโทในคณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนอาจารย์ประจำวิชาจะต้องจบการศึกษาในคณะวิชาที่สอนก่่อนและจึงมาศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาโทในคณะศึกษาศาสตร์ และยังมีข้อกำหนดพิเศษสำหรับครูการศึกษาพิเศษและครูแนะแนวต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทด้านการศึกษาพิเศษและการแนะแนวอีกด้วย

โดยกฎหมายฟินแลนด์กำหนดให้เด็กทุกคนเรียนการศึกษาภาคบังคับถึงมัธยมศึกษาตอนต้น (เกรด 9) โดยรัฐบาลสนับสนุนงบ 85% และพอจบมัธยมต้นแล้ว แล้ว ก็จะจบการศึกษาภาคบังคับ ใครไม่อยากเรียนต่อก็ได้ ส่วนใครที่อยากเรียนต่อ รัฐจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณให้ผู้เรียนเกือบทั้งหมด ยกเว้นค่าใช้จ่ายเรื่องอุปกรณ์การเรียน ก็จะสามารถแบ่งไปได้ 2 ทางคือ
  • โรงเรียนมัธยมปลาย คือเรียนต่อไปเกรด 10-12  เหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในสายวิชาการ เช่น แพทยศาสตร์ ครุศาสตร์ นิติศาสตร์ เป็นต้น
  • โรงเรียนสายอาชีพ จะคล้ายๆ ปวช. บ้านเรา เหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการฝึกทักษะวิชาชีพเฉพาะทาง
และเมื่อเรียนจบจากโรงเรียนมัธยมปลายหรือโรงเรียนสายอาชีพแล้ว ก็จะแยกไปได้อีก 2 ทางค่ะ คือ มหาวิทยาลัย และ โพลีเทคนิค ซึ่งระบบมหาวิทยาลัยของฟินแลนด์จะไม่ต่างจากในบ้านเรา พอเรียนจบปริญญาตรี ก็ต่อปริญญาโทและเอกได้ ส่วนโพลีเทคนิคนั้น จะคล้ายๆ ปวส. ของเมืองไทยแต่จะใช้เวลาเรียน 3-4 ปี ปัจจุบันฟินแลนด์มีจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งหมดเป็นของรัฐประมาณ 20 แห่ง และมีจำนวนโพลีเทคนิคประมาณ 30 แห่งที่ดำเนินการโดยรัฐบาล เทศบาล และเอกชนค่ะ

เกร็ดน่ารู้เพิ่มเติม
  • ฟินแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่ผลิตหนังสือสำหรับเด็กมากที่สุดในโลก
  • รายการต่างประเทศที่เข้ามาฉายในช่องทีวีของฟินแลนด์ มักไม่ค่อยมีการพากย์เสียงภาษาฟินแลนด์ จะยังคงพูดภาษาเดิมนั้นๆ แต่จะขึ้นซับไตเติ้ลด้านล่างให้อ่านแทน
  • ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีคอรัปชั่นน้อยมากถึงมากที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:http://upluskorea.com/ และ  http://www.adviceforyou.co.th/articles/565-finland-education/

การเรียนต่างประเทศ

การเรียนต่างประเทศ

       ในปี2558มีการเปิดประตุASEANมีการเปิดประตูอาเซียนการศึกษต่างประเทศที่ว่าคงจะไม่พ้นการศึกษาของเพื่อนประเทศสมาชิกอีก9ประเทศเป็นแน่


อันดับคุณภาพระบบการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียนโดย World Economic Forum

อันดับที่ 1 ประเทศสิงคโปร์
อันดับที่ 2 ประเทศมาเลเซีย
อันดับที่ 3 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
อันดับที่ 4 ประเทศฟิลิปปินส์
อันดับที่ 5 ประเทศอินโดนีเซีย
อันดับที่ 6 ประเทศลาว
อันดับที่ 7 ประเทศกัมพูชา
อันดับที่ 8 ประเทศไทย
อันดับที่ 9 ประเทศเวียดนาม
อันดับที่ 10 ประเทศพม่า

จุดเด่นของ 10 ประเทศอาเซียน

1. ประเทศอินโดนีเซีย

ประเด็นที่น่าสนใจคือ การลงทุนส่วนใหญ่ในประเทศนี้เน้นทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก ส่วนจุดแข็งนั้นแน่นอน เมื่อเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในกลุ่ม (จำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลกและอันดับหนึ่งใน ASEAN) อินโดนีเซียก็กลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีจำนวนผู้บริโภค (และเป็นมุสลิม) มากที่สุด มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก และมีระบบธนาคารที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง แต่จุดอ่อนของประเทศนี้คือการที่ประเทศเป็นหมู่เกาะ ระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคมก็ยังต้องพัฒนาต่อไป

2. ประเทศสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีอัตรารายได้เฉลี่ยต่อหัวมากที่สุดในกลุ่ม ตอนนี้ทางสิงคโปร์กำลังเน้นการขยายระบบเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น และลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า ข้อได้เปรียบของสิงคโปร์คือ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศอยู่ในจุดยุทธศาสตร์เป็นศูนย์กลางการเดินเรือ (เอื้อต่อการขนส่ง) เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงการที่แรงงานที่มีทักษะ มีการศึกษาและภาษาดี และการเมืองที่มีเสถียรภาพสูงมาก แต่จุดอ่อนคือ เนื่องจากมีประชากรน้อยและเป็นแรงงานที่มีทักษะ สิงคโปร์จะขาดแรงงานที่เป็นแรงงานระดับล่าง และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจหรือค่าครองชีพค่อนข้างสูง

3. ประเทศกัมพูชา

กัมพูชาเป็นประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน (USD 1.6/วัน) สำหรับไทยนั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งที่อาจจะเป็นได้ทั้งการสนับสนุนและบั่นทอนโอกาสในการร่วมมือ ขยายการค้า หรือการลงทุนต่างๆ จุดแข็งของกัมพูชานอกจากเรื่องค่าแรงต่ำแล้ว ประเทศนี้ยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น แร่ธาตุ หรือป่าไม้ ส่วนเรื่องที่ต้องพัฒนาปรับปรุงต่อไปคือ เรื่องระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังให้บริการได้ไม่ทั่วถึงและมีต้นทุนค่อนข้างสูง และการขาดแรงงานที่มีทักษะ

4. ประเทศเวียดนาม

เวียดนามเป็นประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ สิ่งที่น่าจับตามองของเวียดนามคือการเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วในแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ ความต้องการภายในประเทศ รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเรื่องสิทธิและเสรีต่างๆ เวียดนามมีจุดแข็งที่การเมืองที่ค่อนข้างนิ่งและมีเสถียรภาพ ประชากรจำนวนมากซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ มีปริมาณน้ำมันสำรองมาก (อันดับ 2 รองจากมาเลเซีย) และมีแนวชายฝั่งทะเลยาวมากกว่า 3,000 กิโลเมตร ส่วนเรื่องที่ยังคงต้องกังวลอยู่คือระบบสาธารณูปโภคที่ยังต้องการการพัฒนา และราคาค่าที่ดินและค่าเช่าสำนักงานซึ่งยังถือว่าสูงมากทีเดียว

5. ประเทศลาว

ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับลาวคือการลงทุนทางด้านสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่ เพราะที่ประเทศนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะ น้ำ และ แร่ธาตุค่ะ การเมืองก็นิ่งและมีเสถียรภาพ บวกกับค่าแรงต่อหัวที่ยังถือว่าต่ำมาก (USD 2.06/วัน) ส่วนเรื่องที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนหรือการติดต่อต่างๆ คือประเทศลาวไม่มีทางออกที่ติดกับทะเลเลย รวมถึงภูมิประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขนส่ง รวมถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังคงต้องได้รับการพัฒนาอยู่อีกมาก

6. ประเทศพม่า

พม่ากำลังทุ่มสุดตัวกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและเครือข่ายคมนาคมภายในและเชื่อมต่อภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟความเร็วสูง ถนนต่างๆ และท่าเรือ เพื่อรองรับความต้องการและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าพูดเรื่องค่าแรง พม่ายังจัดอยู่ในประเทศที่มีค่าแรงต่อหัวค่อนข้างต่ำมาก (USD2.5/วัน) แถมยังความได้เปรียบทางภูมิประเทศและเพื่อนบ้าน โดยมีพรมแดนเชื่อมโยงกับประเทศจีนและอินเดีย ส่วนเรื่องทรัพยากรธรรมชาติก็ยังมีอยู่มากมาย รวมถึงแหล่งพลังงานอย่าง ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันด้วย จุดที่ต้องระวังคือ เรื่องนโยบายในหลายๆ ด้านและความไม่แน่นอนทางการเมือง บวกกับสาธารณูปโภคที่ยังต้องพัฒนาอยู่อีกมากเช่นกัน

7. ประเทศฟิลิปปินส์

เป็นอีกประเทศที่มีลักษณะทางภูมิประเทศเป็นเกาะ แก่ง น้อยใหญ่ จุดเด่นของประเทศนี้คือสหภาพแรงงานที่มีบทบาทมาก มีการประท้วงเรื่องค่าแรงบ่อยครั้ง การลงทุนส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปทางตอบสนองความต้องการภายในประเทศ เนื่องจากฟิลิปปินส์มีจำนวนประชากรจำนวนมาก (มากกว่า 100 ล้านคน ติดอันดับที่ 12 ของโลก) ทำให้เป็นตลาดที่น่าสนใจและมีขนาดใหญ่มาก จุดแข็งอีกเรื่องของประเทศนี้คือ ประชากรแทบจะทั้งประเทศสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษากลางของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC – Asean Economics Community) ได้ดี ส่วนจุดอ่อนของฟิลิปปินส์คือ ที่ตั้งของประเทศที่ค่อนข้างห่างไกลจากประเทศสมาชิกอื่นๆ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิภาพทางสังคมที่ยังต้องการการพัฒนาอยู่

8. ประเทศบรูไน

บรูไนเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ (สองประเทศแรกเข้าใจว่าเพราะเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน) ส่วนสิงคโปร์จะเป็นหลักในการส่งสินค้าระหว่างประเทศให้กับบรูไน ที่สำคัญประเทศนี้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมากเลยทีเดียว ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่เป็นประเทศที่เป็นผู้ผลิต-ส่งออกน้ำมันและมีปริมาณน้ำมันสำรองรายใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน บรูไนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีมากเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ และมีเสถียรภาพทางการเมืองที่มั่นคง ที่กล่าวมานี้นับเป็นจุดแข็งของบรูไนในขณะที่เรื่องที่ถือว่าน่าจะเป็นจุดอ่อนของบรูไน คือ ขนาดตลาดของประเทศนี้ถือว่าเล็กมาก เพราะมีจำนวนประชากรอยู่แค่สี่แสนคนเท่านั้น ทำให้มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานตามไปด้วย

9. ประเทศมาเลเซีย

เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวต่อปีมากเป็นอันดับสาม รองจากสิงคโปร์และบรูไน สิ่งที่น่าสนใจสำหรับประเทศนี้คือ มาเลเซียตั้งเป้าให้ในอีก 8 ปีข้างหน้าจะกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศนี้มีฐานการผลิตและสินค้าส่งออกหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับไทย และมีนโยบายการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง นอกจากนี้ข้อเด่นของมาเลเซียคือ ความได้เปรียบเรื่องพลังงาน จำนวนปริมาณน้ำมันสำรองและก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่มาก ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ครบวงจร รวมไปถึงแรงงานที่มีทักษะ ส่วนจุดอ่อนก็จะคล้ายๆ กับของประเทศบรูไนคือการที่จำนวนประชากรน้อยและปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานระดับล่าง

10. ประเทศไทย

มาถึงบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเรา ประเทศไทยตั้งเป้าเป็น Hub หรือเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นโลจิสติกส์ หรือการท่องเที่ยว จุดแข็งของประเทศเรา คือมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง ที่ตั้งและภูมิประเทศเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางคมนาคมในภูมิภาค ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแข็ง ขนาดของตลาดใหญ่ มีแรงงานจำนวนมาก รวมถึงการที่เป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลกเลยทีเดียว แต่จุดอ่อนยังคงอยู่ที่แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ เทคโนโลยีในการผลิตส่วนใหญ่ยังมีเทคโนโลยีไม่สูง และระดับความรู้และการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นแย่ ทำให้เสียเปรียบด้านการแข่งขันสำหรับแรงงานเมื่อมีการเปิดเสรี AEC
ขอขแบคุณที่มาจาก: http://www.8ducationway.com//

นักเรียนไทย(ที่ควรจะเป็น)

นักเรียนไทย(ที่ควรจะเป็น)


ลักษณะของนักเรียนที่ดีเป็นอย่างไร

              นักเรียนยังเป็นวัยที่เข้ากับสังคมได้ดีที่สุด เราควรฝึกให้ตนเองนั้นเป็นบุคลที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ทำตามในสิ่งที่สมควร และนำเพื่อนๆไปในทางที่ดี และวัยเรียนยังเป็นไวที่กำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ยังต้องรู้เรื่องราวอีกมากมาย เราควรคิดให้ดีๆ และตั้งใจเรียนตั้งใจศึกษาเพื่อนำความรู้ที่ได้เรียนมาไปเป็นแนวทางที่ดีในอนาคตของตัวเราเองที่กำลังจะเป็นผู้ใหญ่ในวัยข้างหน้าควรนำความรู้ที่มีอยู่มาเป็นกระบวนแง่คิดวิเคราะห์และแยกแยะให้ออกว่าสิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำเราจะเป็นนักเรียนที่ดีได้ต้องมีคุณสมบัติที่ดีเป็นพื้นฐานโดยการมีวินัยในตนเองตั้งแต่ยังเด็ก
ปัจจุบันนักเรียนไทยมีการพัฒนาในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยี ความทันสมัยด้านวิชาการ สื่อการเรียนการสอน และอื่นๆ ที่นักเรียนไทยได้รับอิทธิพลมาจากชาวต่างชาติ ในบางครั้งการรับอิทธิพลต่างๆของชาวต่างชาติเข้ามาก็อาจเป็นผลดีที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติของไทยให้ดียิ่งขึ้น แต่ทว่ามีเยาวชนไทยบางกลุ่มที่รับเอาสิ่งที่ผิดต่อวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของไทยมาปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อเด็กรุ่นหลัง ทั้งนี้นักเรียนและเยาวชนที่ดีควรคำนึงถึงวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมอันดีงามของไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ และเห็นคุณค่าของตนเองที่มีอยู่ รู้จักนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องนักเรียนที่ดีควรวางแผนในอนาคตไว้ล่วงหน้า มีจุดมุ่งหมายในการเรียน เพื่อเป็นแรงผลักดันตนเองให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคต ไม่เพียงแต่ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้แค่นั้น เมื่อมีจุดมุ่งหมายก็ควรที่จะมีความตั้งใจแน่วแน่ มีความรับผิดชอบต่อการงาน กล้าคิด กล้าทำ กล้าที่จะตัดสินใจทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ และเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ หากเราแก้ไข และปฏิบัติตนตามแนวทางที่ถูกต้องนอกจากจะเกิดผลดีต่อตนเองแล้ว ยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้ปฏิบัติตาม นักเรียนไทยจะพัฒนาได้ ถ้าเราเริ่มจากตัวของเราเอง 
สุดท้ายนี้การที่เราเป็นนักเรียนที่ดีนี้จะส่งผลถึงตัวของเราเองและบุคคลรอบข้างที่คอยเอาใจช่วยเมื่อเราประสบผลสำเร็จผู้อื่นก็จะภาคภูมิใจในตัวเราเป็นอย่างมากหากเราทำดีคิดดีเราก็จะเจอแต่สิ่งดีๆแต่ถ้าหากเรานั้นคิดไม่ดีทำไม่ดีผู้อื่นจะมองว่าเราประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักเรียนนักศึกษา วัยของนักเรียนนักศึกษายังจะต้องเผชิญอะไรอีกมากมายเพราะฉะนั้นก่อนที่จะทำอะไรควรคิดก่อนเสมอว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำอยู่นั้นจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อผู้อื่นหรือไม่ และจะส่งผลต่อตัวเราได้ดีมากน้อยเพียงใด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://nuttawut3.blogspot.com/